มะหาด ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lacucha Roxb.

Last updated: 23 ก.ค. 2562  |  4917 จำนวนผู้เข้าชม  | 

มะหาด ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lacucha Roxb.

มะหาด ชื่อวิทยาศาสตร์ Artocarpus lacucha Roxb. วงศ์ MORACEAE
• ชื่อท้องถิ่นทั่วไป เรียกว่า หาด
• ภาคใต้ เรียกว่า มะหาด
• ตรัง เรียกว่า มะหาดใบใหญ่
• มลายู-นราธิวาส เรียกว่า กาแย หรือ ขนุนป่า หรือ ตาแป หรือ ตาแปง ;

เป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูงถึง 15 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือน ยอดเป็นพุ่มกลมทึบ กิ่งอ่อนมีขนนุ่ม ลำต้นเปลาตรง โคนต้นเป็นพูพอนต่ำ เปลือกสีน้ำตาลปนด า แตกล่อน เป็นแผ่นเล็กๆ ใบเดี่ยว เรียงสลับ กว้าง 5 –20 ซม. ยาว 10–30 ซม.รูปขอบขนาน รูปรีหรือรูปไข่ ปลายสอบ แหลม โคนมนหรือหยักเว้าน้อย ผิวด้านบนและล่างมีขนสาก แผ่นใบค่อนข้างหนา ขอบใบเรียบหรือเป็น คลื่นเล็กน้อย ก้านใบยาว 1–3 ซม. ดอกช่อแบบกระจุกแน่นฝังตัวอยู่บนฐานรองดอก สีเขียวอมเหลืองอ่อน ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ดอก แยกเพศ แยกช่อกันแต่อยู่บนต้นเดียวกัน กลีบเลี้ยง 4 กลีบ ช่อดอกบาน เต็มที่กว้าง 1-1.5 ซม. ผล แบบผลรวมรูปทรงกลมค่อนข้างบิดเบี้ยว ขนาด 5 –10 ซม. ประกอบด้วย ผลย่อย รูปรีเชื่อมติดกันแน่น ผิวผลเป็นปุ่มหนาม ผลแก่จัดสีเหลือง เมล็ดรูปรี ปลูกประดับให้ร่มเงา ใยจากเปลือก ใช้ทำเชือก เนื้อไม้ใช้ทำเสาเรือน สะพาน ไม้พื้น ต่อเรือ เสากระโดงเรือ เครื่องแต่งบ้านและเครื่องดนตรี41 รากให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้า แก่นรสร้อน แก้จุกเสียด ขับลม ระบายและถ่ายพยาธิ ละลายเลือด แก้กษัย แก้เส้นเอ็นพิการ ไม่ผูกไม่ถ่าย ภาคเหนือ ใช้เนื้อไม้ ต้มเคี่ยวนานๆ จนเกิดเป็นฟอง แล้วช้อนฟองใส่จานบน ผ้ากรอง จะได้ฟองสีนวลจับเป็นก้อน บีบน้ำออกให้แห้ง แล้วย่างไฟจนเหลือง เรียกว่า ปวกหาด ใช้ ละลาย น้ำทาแก้ผื่นคัน ละลายกับน้ำมะนาว ให้เด็กที่เป็นตาลขโมย กินเวลาเช้ามืด เมื่อท้องว่าง ถ้ายังไม่ถ่ายอุจจาระ ก็ให้ยาระบาย เพื่อขับไส้เดือนกลม พยาธิเส้นด้าย ตัวตืด

( ข้อมูลงานวิจัย)

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้